ห้องคลีนรูม Clean room กับการใช้ผนังสำเร็จรูปโฟมขาว PS Foam

   ห้องคลีนรูม Clean roomใช้ผนังสำเร็จรูป คือ ห้องคลีนรูม Clean room ผนังแผ่นฉนวนกันความร้อนโดยผนังห้องคลีนรูมนี้มีผนังสำเร็จรูปโฟมขาว ps foam และ มีไส้กลางเป็นโฟม pir ps pur pu และ ใยหินและ ห้องคลีนรูม เป็นห้องที่มีระบบอากาศพิเศษ  เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นปริมาณอนุภาคและสิ่งปนเปื้อนในอากาศไม่ให้มีเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดซึ่งเป้น ผนัง แผ่นฉนวนสำเร็จรูป (Sandwich Panel)  มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการสร้าง ห้องคลีนรูม clean room หรือ เรียกว่า ห้องปลอดเชื้อ หรือ ห้องที่ต้องการความสะอาด อีกทั้งจะยังต้องมีการออกแบบที่ได้ตามมาตราฐานด้าน Engineering ด้วยเช่น ต้องคำนวณ คุณลักษณะและความเร็วลม อุณหภูมิ แรงดันของลม และ ระดับ humanity(ระดับค่าความชื้น) ภายในห้องอีกด้วย มีรายละเอียดของห้องคลีนรูม ดังนี้

คุณลักษณะของ ห้องคลีนรูม(clean room) มีรายละเอียดดังนี้

  • ผนัง ห้องคลีนรูม clean room หรือที่มักเรียกกันว่า “ห้องปลอดเชื้อ” หมายถึง ห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆให้มีไม่เกินระดับที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการควบคุมปัจจัยเสริมต่างๆ ได้แก่ คุณลักษณะและความเร็วของลม อุณหภูมิ แรงดัน และระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องอีกด้วยและปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตมีการพัฒนาและก้าวหน้าไปมาก มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology) มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้สภาวะแวดล้อมที่สะอาด ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดี อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Clean Room ได้แก่ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนถึงอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลที่มีความละเอียดในการทำงานสูง เป็นต้น
  • ผนัง Clean room หรือ “ห้องสะอาด” ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี คศ 1961 โดย Willis Whitfield คือห้องสะอาด หมายถึง ห้องที่มีการปิดมิดชิดด้วยผนัง มีการควบคุมมลสารในอากาศให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีความสะอาดเป็นไปตามระดับมาตรฐานความสะอาด และมีการควบคุมสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความแตกต่างของความดันตามที่ต้องการอีกด้วยและโดยทั่วไปมลสารหรืออนุภาคในอากาศ ประกอบไปด้วยอนุภาคที่มีชีวิต (เชื้อจุลชีพต่างๆและอนุภาคที่ไม่มีชีวิต (ผง ฝุ่นห้องสะอาดทางชีววิทยา อุตสาหกรรมยาหรือโรงพยาบาล จะเน้นการ ควบคุมหรือป้องกันพวกเชื้อจุลชีพ ส่วนห้องสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์ที่ต้องการความ สะอาดมาก จะเน้นการควบคุมทั้งอนุภาคที่มีชีวิตและอนุภาคที่ไม่มีชีวิต เครื่องมือสำคัญในการ ควบคุมปริมาณอนุภาคใน Clean Room คือ แผ่นกรองอากาศชนิด HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาด 0.3 ไมครอนได้มีประสิทธิภาพถึง 99.97%

ทำไมต้องมี ห้องคลีนรูม ดังนี้

  • การจัดแบ่ง Class ของ Clean Room และวิธีควบคุมรักษามาตราฐานของ clean room คือ ความต้องการของห้องปลอดเชื้อ (ห้อง clean room , ห้องสะอาด) เกิดจากปัญหาของสิ่งปนเปื้อน อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นละอองต่างๆ ที่มาจากการปฏิบัติงาน จากเครื่องจักร กระบวนการผลิตและรวมทั้งอากาศภายนอก สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำอยู่ ส่งผลให้งานหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ขาดประสิทธิภาพและขอบข่ายของการใช้งานไปและห้องปลอดเชื้อ (cleanroom , ห้องสะอาด) มีมากมายตั้งแต่ภายโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา รวมไปถึงโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ การแบ่ง Class ของ Clean room มีดังนี้ คือ 
    • Class 100 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 100 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
    • Class 1000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
    • Class 10000 หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 10,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
    • Class 100000หมายถึง ห้องที่มีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ไม่เกิน 1000,000 อนุภาคต่ออากาศหนึ่งลูกบาศก์ฟุต
  • วิธีควบคุมรักษามาตราฐานของ ห้องคลีรูม หรือ clean room คือ
    • ป้องกันอนุภาคหรือสิ่งสกปรกเข้ามาในห้องโดย ใช้ HEPA filter กรองอากาศที่เข้าสู่ห้อง
    • รักษาความดันในห้องให้สูงกว่าภายนอก (positive pressure)
    • ทำความสะอาดร่างกายโดยล้างตัวด้วยอากาศ (air washer) ก่อนเข้าห้อง โดยสวมชุดพิเศษสำหรับคนเข้าห้อง
    • ป้องกันการสะสมของฝุ่นผงตามผนัง เป็นต้น..
  • ชนิดของ ห้องคลีนรูม หรือ Clean Room แบ่งตามลักษณะการไหลของอากาศ คือมี
    1. Conventional Clean Room การไหลของอากาศเหมือนกับระบบปรับอากาศที่ใช้ทั่วไปแต่ใช้ HEPA filter และจำนวนครั้งของการเปลี่ยนอากาศมากกว่าเพื่อลดความสกปรกในห้อง โดยปกติจะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 1,000 – 10,000
    2. Horizontal Larminar Clean Room ลมที่ความเร็วคงที่จะไหลผ่าน HEPA filter ที่ติดตั้งเต็มพื้นที่ผนังห้องด้านหนึ่ง ผ่านเข้าสู่ห้องสะอาดแล้วถูกดูดกลับขึ้นด้านบนเพดาน กลับไปสู่ เครื่องเป่าลม ห้องชนิดนี้จะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 นิยมใช้ในอุตสาหกรรม อิเลคโทรนิคส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เป็นต้น
    3. Vertical Laminar Flow Clean Room ห้องนี้จะติดตั้ง HEPA filter เต็มเพดาน โดยอากาศจะถูกส่งลงจากเพดานผ่าน HEPA filter ในแนวดิ่ง และลมจะกลับผ่านพื้นที่ทำให้โปร่ง แล้วกลับสู่เครื่องเป่าลมเย็น มีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 ในทางปฏิบัติเหมาะสำหรับ อุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์
    4. ข้อมูลจาก : www.fi.co.th
  • การกำหนดคุณสมบัติที่จำเพาะของ Clean Room คือมี อุณหภูมิที่เหมาะสม กำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต หรือหากไม่มี ความสำคัญทางด้านการผลิต มักกำหนดให้อยู่ในช่วง 72 oF - 0.25 oF มีความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม ขึ้นกับลักษณะงาน กระบวนการผลิต หรือชนิดผลิตภัณฑ์ ในบางกรณีหากความชื้นสูงไป อาจทำให้ชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เกิดสนิมได้ หรือผลิตภัณฑ์ / สาร บางชนิดที่สามารถดูดความชื้นได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติหรือคุณภาพเปลี่ยนไป ในทาง ตรงข้าม หากความชื้นสัมพัทธ์ต่ำไป จะเกิดประจุไฟฟ้า ที่วัสดุหรือชิ้นส่วน ทำให้เกิดปัญหาอนุภาค ดูดติดกันได้ หากไม่มีข้อกำหนดเฉพาะ โดยทั่วไปกำหนดให้มีความชื้นประมาณ 50 % 10 % และมี ความดัน ควรรักษาความดันในห้องสะอาดให้เป็นบวกเสมอ (positive pressure) มีทางเข้าออกที่ปิดมิดชิด และมีพัดลมเป่า (air shower) เพื่อดันลมออกไปป้องกันมิให้อนุภาคเข้า มาปนเปื้อนในห้อง ทั้งนี้ ห้องที่มีระดับความสะอาดต่างกัน ให้มีความดันต่างกันอย่างน้อย 0.05 นิ้วน้ำ และมี ระดับเสียง ตามข้อกำหนดของการใช้งานรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ แสงสว่าง หากไม่มีการกำหนดพิเศษให้ใช้แสงสว่าง 1,080 – 1,620 lux.

ห้องคลีนรูม(clean room)

01
02
03
04
05
06
07
08
09
11
12
13
14
15
F11
F12
F13
F14
F15
F16
F17
F18
F19
F20
F21
F22