ฉนวนป้องกันความร้อนมีกี่ชนิดและติดตั้งที่ส่วนใดของห้อง?
ปัจจุบันมีฉนวนป้องกันความร้อนชนิดต่าง ๆ อยู่หลายชนิดซึ่งเหมาะกับงานที่อุณหภูมิต่าง ๆ กัน
โฟม PU (โพลียูรีเทน) ทนความร้อนได้ 100 องศาเซลเซียสสูงสุด เป็นของเหลวบรรจุในถัง ในต่างประเทศจะใช้ฉีดเข้าระหว่างฝาผนังบ้าน ซึ่งก่ออิฐสองชั้นในประเทศไทยไม่นิยมทำกันเพราะราคาแพง เรามักจะพบฉนวนชนิดโฟมฉีดในเครื่องใช้ภายในบ้านคือ ใช้ฉีดเข้าไปโดยรอบผนังตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็งนอกจากจะใช้เครื่องใช้ภายในบ้านแล้ว PU หรือ Polyurethane ยังสามารภผลิตเป็นแผ่นฉนวนสำเร็จรูป (Sandwich Panel) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาความเย็นได้ดี จึงเป็นที่นิยมใช้ในการกั้นห้องเป็นห้องเย็น (Cold room) ได้เป็นอย่างดี
โฟม PS (โพลีสไตลีน) ทนอุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียสสูงสุด หรือที่เห็นกันทั่วไปจะเป็นแผ่นสีขาว น้ำหนักเบา มีความหนาต่าง ๆ กันถึงแม้ว่าฉนวนชนิดนี้จะมีความต้านทานความร้อนดีกว่า (ค่า k ต่ำ) ฉนวนใยแก้วก็ตาม ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำมาเป็นฉนวนในบ้านอยู่อาศัยเพราะเป็นฉนวนที่เสื่อมสภาพได้ง่าย ติดไฟ และหากติดไฟจะเกิดก๊าซพิษ
ฉนวนใยแก้ว ทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 250 องศาเซลเซียส ใช้บุใต้หลังคา ควรมีความหนาไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และมีบุผิวด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ทั้ง 2 ด้าน
ประเภทและคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน - ความเย็น
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ฤดูร้อนจะร้อนมาก ในแต่ละวันคุณต้องสูญเสียพลังงานไปกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยทั้งพัดลม เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ และอื่นๆ วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อนจึงเป็นวิถีทางหนึ่งในการลดความสูญเสียพลังงานที่ใช้และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด ฉนวนกันความร้อนคือคําตอบในเรื่องนี้ เพื่อช่วยลดการสูญเสียความร้อนและรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้โดยมีคุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิด
หลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value) ช่วงอุณหภูมิการใช้งานการเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ำและความชื้น การทนต่อแมลงและเชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา
ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้